Welcome to blogspot is Miss Kanyarat Nonghngok

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.

  
หมายเหตุ:ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค



วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


    ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้ทำกิจกรรม ''รถไฟเหาะแห่งชีวิต'' โดยการถาม-ตอบให้เขียนคำตอบลงบนกระดาษตามความรู้สึกจริงๆ




    ความรู้ที่ได้รับ....

  เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
  
  ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างดีขึ้น
  กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่าที่น่าสำรวจสัมผัส ผลัก ดึง
 ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไมม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร ครูต้องพยายามเอาเพื่อนเข้าไปเล่นด้วย เด็กจะได้เรียนรู้จากเพื่อน
  • ครูแต่ละคนเริ่มสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ จะได้รู้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปทำแผน IEP 
 การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ''ครู'' ให้เด็กพิเศษ
 ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้เมื่อเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป อย่าชมเยอะ!
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
 การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน
  • ทำโดย ''การพูดนำของครู''
 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษจะต้องเรียนรู้สิทธิ์ต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นข้อต่อรอง

 กิจกรรม....    

 อาจารย์สอนร้องเพลง 6 เพลง ดังนี้




กิจกรรม บำบัดเด็กพิเศษด้วยเพลง(เส้นและจุด)

    จับคู่กับเพื่อน แล้วไปหยิบสีเทียนสีที่ตนเองชอบคนละ1 แท่ง แล้วให้เลือกระหว่างจุดกับเส้น ใครจะเป็นจุด ใครจะเป็นเส้น โดยคู่ของหนู หนูเป็นจุด ส่วนเพื่อนเป็นเส้น 
กติกา: เมื่อได้ยินเสียงเพลงให้คนที่เป็นเส้นเริ่มลากเส้นไปเรื่อยๆแต่ในเส้นที่ลากต้องมีเส้นที่ตัดกันเป็นวงกลมอยู่ในเส้นด้วย แล้วคนเป็นจุดตามจุดวงกลมที่เพื่อนลากจนเพลงจบ จากนั้นอาจารย์ก็ให้วาดภาพลงไปในเส้นที่วาดระบายสีให้สวยงาม  ก็จะได้ผลงานที่สวยงาม (เสร็จเป็นคู่สุดท้ายด้วยค่ะ) ดังนี้...




Duck and deer...


ผลงานรวม...




 ประเมินผล....

ประเมินตนเอง: วันนี้เข้าเรียนสายนิดหน่อยค่ะ เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ สนุกสนาน เฮฮาสุดๆค่ะ
ประเมินเพื่อน: เข้าเรียนตรงเวลาแต่ก็มีส่วนน้อยที่สายบ้างนิดหน่อย ตั้งใจเรียน จดบันทึก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์: เตรียมการสอนมาดี วัสดุอุปกรณ์พร้อม มีกิจกรรมก่อนเข้าสู้สู่บทเรียนสนุกสนาน
อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย ยกตัวอย่างให้เห็๋นภาพชัดเจนขึ้น ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่นักศึกษา 




วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5



วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


          การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มด้วยกิจกรรม โดยอาจารย์แจกกระดาษและแจกถุงมือสีขาวให้คนละหนึ่งข้างแล้วให้ใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด  แล้วให้วาดภาพมือข้างที่ใส่ถุงมือแต่มีข้อตกลงว่าห้าม!ถอดถุงมือออกมาดู ให้วาดให้เหมือนที่สุด

มือหนู...



        มืออยู่กับเราตลอดเวลา ทุกวันที่ตื่นขึ้นมาเราต้องเห็นมือไม่มีวันไหนที่เราไม่เห็นมือของเราเพราะมืออยู่กับเราตั้งแต่แรกเกิด  เรายังเก็บรายละเอียดได้ไม่ค่อยดี ...พฤติกรรมของเด็กพิเศษก็เหมือนกันถ้าครูได้แต่จำโดยไม่มีการจดบันทึกแล้วค่อยบันทึกทีหลังอาจทำให้จำผิดไปจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้น ควรบันทึกอย่างสม่ำเสมอและเก็บรายละเอียดของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาให้ได้มากที่สุด บันทึกตามความเป็นจริง อย่าละเลยกับการบันทึกพฤติกรรม!
                
     ความรู้ที่ได้รับ....

  เรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

 ทักษะของครูและทัศนคติ
  • มองเด็กให้เป็นเด็ก มองภาพรวม
  • ต้องจำชื่อจริง และชื่อเล่น ให้ได้ทุกคน
  • เด็กเหมือนกันมากกว่าที่จะแตกต่าง
  • ครูต้องเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
 การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย *เวลาสอนเด็กครูต้องมองเด็กทุกคน อย่าหยุดชะงักสายตาที่ใครคนใดคนหนึ่งนานเกินไป*

 ความพร้อมของเด็ก

  • วุฒิภาวะ  อายุใกล้เคียงกัน วุฒิภาวะใกล้เคียงกัน
  • แรงจูงใจ  เด็กแต่ละคนมีแรงจูงใจต่างกัน
  • โอกาส   เด็กทุกคนต้องมีโอกาสเท่าๆกัน
 การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์

  • สำหรับห้องเรียนรวม คือ การไม่แบ่งแยกเพศของเด็ก เช่น ของเล่น ตุ๊กตา  หุ่นยนต์ เป็นต้น อุปกรณ์ในการเล่นของเด็กห้องเรียนรวมต้องสามารถเล่นได้รวมกันทั้งชายและหญิงวิธีการเล่นต้องไม่ตายตัว

ตารางประจำวัน

  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ  ไม่ชอบเปลี่ยนแปลง
ทัศนคติของครู

   ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานะการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมบำบัดที่จะสอดแทรกการบำบัด คือ เพลง เพราะสามารถใช้ได้ตลอด
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
  
 เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม

  • เด็กพิเศษชอบให้ครูชมเชยและวิธีการแสดงออกถึงแรงเสริม คือ การตอบสนองด้วยวาจา การยืนหรือนั่งใกล้ๆเด็ก การพยักหน้า ยิ้ม ฟัง การสัมผัสทางกายโดยการกอดและการให้ความช่วยเหลือรวมถึงการร่วมกิจกรรม 
การแนะนำหรือบอกบท
  • การย่อยงาน บอกอย่างเป็นขั้นตอนโดยละเอียด
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ 
กำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ใ้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า 
    ก้าวไปข้างหน้า >>> เริ่มต้นจากขั้นแรกไปขั้นสุดท้าย



  • ย้อนมาจากข้างหลัง >>> จากล่างขึ้นบน เริ่มจากขั้นสุดท้ายของกิจกรรมขึ้นไป
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ห้ามในสิ่งที่เด็กชอบ
  • เอาเด็กออกจากกิจกรรม
  • เอากิจกรรมออกจากตัวเด็ก

 ท้ายชั่วโมงอาจารย์ก็ให้ตอบคำถาม Post test ร่วมกันแล้วต่อด้วยร้องเพลงทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้...


เพลง ฝึกกายบริหาร



ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว


เพลง ผลไม้


ส้มโอ  แตงโม  แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ  ฝรั่ง  มังคุด
กล้วย ละมุด  น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธ์



เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี



เพลง ดอกไม้

ดอกไม้ต่างพันธ์ุ สวยงานสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู


  

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้



จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื้องฟ้า ราตรี

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน



 ประเมินผล...

ประเมินตนเอง:เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนจดบันทึกเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม               อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน: วันนี้เรียนรวม 2 กลุ่ม เสียงดังนิดหน่อย แต่เพื่อนก็ตั้งใจเรียนจดบันทึก ให้ความ             ร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์: เตรียมการสอนมาดี  มีเทคนิคในการสอนดีมากค่ะ มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่              ชัดเจนขึ้นทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆ


วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.



หมายเหตุ:ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปนิเทศพี่ปี 5