Welcome to blogspot is Miss Kanyarat Nonghngok

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ 22 เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.

ก่อนเข้าสู่บทเรียนทำกิจกรรม ''ดิ่งพสุธา'' 



  ความรู้ที่ได้รับ....

 เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education program)


   แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
   การเขียนแผน  IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าทักษะใมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน  ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
  IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กจำเป็นมีความต้องการรับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
  • ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะแนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามรถของตน
  • ได้มีดดอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
  ขั้นตอนการจัดทำแผนรายบุคคล

  1.  การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินพัฒนาการด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง
    2.  การจัดทำแผน

  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

กำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
  

3.  การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบรูณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลและความสามารถ โดยคำนึงถึง

  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการของเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4.  การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
**การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์ที่แตกต่างกัน**


ประเมินผล.....
  
ประเมินตนเอง: วันนี้เข้าเรียนสายนิดหน่อยค่ะ   ตั้งใจเรียนมีการบันทึกประเด็นสำคัญๆเพิ่มเติม  ตั้งใจทำกิจกรรมให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน: ตั้งใจเรียน  จดบันทึก  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เตรียมการสอนมาดี  เตรียมกิจกรรมได้เหมาะสม  ตั้งใจสอนอย่างเต็มที่ อธิบายเข้าใจง่าย  ให้ปรึกษาและแนะนำวิธีการในการการเขียนแผน IEP 



วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ 15 เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันหยุด ''สงกรานต์'' ดูเพิ่มเติม



วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
  •การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
  •มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  •เด็กรู้สึกว่า ''ฉันทำได้''
  •พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  •อยากสำรวจ อยากทดลอง

 ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
 การเลียนแบบ

 การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
 การรับรู้การเคลื่อนไหว
  •ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น (ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5)
  •ตอบสนองอย่างเหมาะสม

 การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ 
  • ต่อบล๊อก 
  • ศิลปะ 
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
 ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ 
  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่





  •  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก




 ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อ ครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หาย

 ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้เวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี 
  • จัดกิจกรรมเด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก  
    
  หมายเหตุ : วันนี้ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากปวดท้องค่ะ 



วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วันพุธที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.



หมายเหตุ:ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก ''กีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์''