Welcome to blogspot is Miss Kanyarat Nonghngok

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16



วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


      กิจกรรม.....
      
        วันนี้เป็นวันที่อาจารย์นัดสอบ และเป็นสุดท้ายของการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2/2557 ในการสอบวันนี้มีกฎกติกา ดังนี้
  • ถ้าดูเนื้อเพลงหัก   1  คะแนน
  • ถ้าเปลี่ยนเพลงหัก   0.5  คะแนน
  • ถ้าใช้ตัวช่วยโดยเพื่อนช่วยร้องหัก  1  คะเเนน
  • ถ้าร้องเพลง ''ลุงมาชาวนา''  จะได้คะแนนเพิ่ม  1  คะแนน
       โดยเพลงที่ใช้สอบมีทั้งหมด  21  เพลง ซึ่งอาจารย์ใช้วิธีการจับสลากเลขที่ถ้าเป็นเลขที่ของใครก็ให้ออกมาจับเพลงที่จะสอบ 1 เพลง  และเพลงที่หนูจับสลากได้คือเพลง  ลุงมาชาวนา  แต่หนูก็ขอเปลี่ยนเพลงที่จับสลากได้คือ  เพลง นกเขาขัน ค่ะ


เพลง  นกเขาขัน

ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู

ผู้แต่ง อ. ศรีนวล  รัตนสุวรรณ



ภาพความประทับใจ & ความทรงจำดีดี
                  





ประเมินผล....
ประเมินตนเอง: ตื่นเต้นมากค่ะ พอได้ยินอาจารย์เรียกเลขที่หนู เหมือนอยู่ท่ามกลางอากาศที่หนาวจัดซึ่งมันไม่ใช่ มือไม้สั่นมือเย็นเฉียบความรู้สึกนะตอนนั้นชาไปทั้งตัวเลยค่ะ แต่ก็พยายามทำให้ทำที่สุดอาจจะไม่ดีที่สุดแต่หนูก็จะพยายามต่อไปค่ะ ^__^

ประเมินเพื่อน: มีการเตรียมตัวมาดี  บางคนก็ดูตื่นเต้นมาก  แต่ทุกคนก็ตั้งใจร้อง  เพื่อนหลายคนร้องได้เพราะมาก  

ประเมินอาจารย์: อาจารย์เป็นคนน่ารักและใจดีมากค่ะ  มีเทคคนิคในการที่ดีมากสอนสนุกมีกิจกรรมที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ ไม่เครียด  อาจารย์เข้าใจนักศึกษารับฟังปัญหาของนักษาและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา 
         
สุดท้ายนี้....  ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะสำหรับความรู้ ประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ ที่อาจารย์มอบให้ตั้งแต่วันแรกที่เรียนกับอาจารย์จนวันสุดท้ายของการเรียนการสอนปี 3  ^__^ 


วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ 22 เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.

ก่อนเข้าสู่บทเรียนทำกิจกรรม ''ดิ่งพสุธา'' 



  ความรู้ที่ได้รับ....

 เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education program)


   แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะกับความต้องการและความสามารถของเขา
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการการเรียนรู้ของเด็ก
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
   การเขียนแผน  IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ
  • ครูต้องรู้ว่าทักษะใมีปัญหาอะไร
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน  ในทักษะใด
  • เด็กสามารถทำอะไรได้/เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
  IEP  ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กจำเป็นมีความต้องการรับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น
  • ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะแนการสิ้นสุดของแผน
  • วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
  • ได้เรียนรู้ตามความสามรถของตน
  • ได้มีดดอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  ประโยชน์ต่อครู
  • เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
  ขั้นตอนการจัดทำแผนรายบุคคล

  1.  การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์
  • รายงานการประเมินพัฒนาการด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง
    2.  การจัดทำแผน

  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

กำหนดจุดมุ่งหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
  

3.  การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบรูณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลและความสามารถ โดยคำนึงถึง

  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็ก
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการของเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4.  การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
**การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์ที่แตกต่างกัน**


ประเมินผล.....
  
ประเมินตนเอง: วันนี้เข้าเรียนสายนิดหน่อยค่ะ   ตั้งใจเรียนมีการบันทึกประเด็นสำคัญๆเพิ่มเติม  ตั้งใจทำกิจกรรมให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน: ตั้งใจเรียน  จดบันทึก  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เตรียมการสอนมาดี  เตรียมกิจกรรมได้เหมาะสม  ตั้งใจสอนอย่างเต็มที่ อธิบายเข้าใจง่าย  ให้ปรึกษาและแนะนำวิธีการในการการเขียนแผน IEP 



วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ 15 เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันหยุด ''สงกรานต์'' ดูเพิ่มเติม



วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
  •การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
  •มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
  •เด็กรู้สึกว่า ''ฉันทำได้''
  •พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
  •อยากสำรวจ อยากทดลอง

 ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
 การเลียนแบบ

 การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
 การรับรู้การเคลื่อนไหว
  •ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น (ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5)
  •ตอบสนองอย่างเหมาะสม

 การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ 
  • ต่อบล๊อก 
  • ศิลปะ 
  • มุมบ้าน
  • ช่วยเหลือตนเอง
 ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ 
  • ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่





  •  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก




 ความจำ
  • จากการสนทนา
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
  • จำตัวละครในนิทาน
  • จำชื่อ ครู เพื่อน
  • เล่นเกมทายของที่หาย

 ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
  • จัดกลุ่มเด็ก
  • เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้เวลาสั้นๆ
  • ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าทำที่ไหน
  • ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
  • บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
  • รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
  • มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
  • เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
  • พูดในทางที่ดี 
  • จัดกิจกรรมเด็กได้เคลื่อนไหว
  • ทำบทเรียนให้สนุก  
    
  หมายเหตุ : วันนี้ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากปวดท้องค่ะ 



วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน


วันพุธที่ 1 เมษายน  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.



หมายเหตุ:ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก ''กีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์''


 


วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่ 25 มีนาคม  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.


หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบเก็บคะแนน




ประเมินผล

ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา มีการเตรียมตัวมาบ้างค่ะ ต้นชั่วโมงก็เครียดเรื่องโรงเรียนทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ก็ตั้งใจทำข้อสอบเต็มที่ บางข้อก็ทำได้บางข้อก็จำไม่ค่อยได้

ประเมินเพื่อน: มีการเตรียมตัวก่อนสอบมาดี เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจทำข้อสอบบางคนทำข้อสอบเสร็จเร็วมาก มีการปรึกษากันบ้าง 

ประเมินอาจารย์:อาจารย์ออกข้อสอบได้ดีเน้นความเข้าใจ ให้นักศึกษาถามคำถามได้คนละ 1 คำถาม ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา 

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วันพุธที่  18 มีนาคม  พ.ศ. 2558
เวลาเข้าเรียน 09.00-12.20 น.



    กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ให้ทำกิจกรรม ''ไร่สตอว์เบอรี่'' โดยการบรรยายและสมมติสถานการณ์ขึ้นมาแล้วตอบคำถาม
    
     ความรู้ที่ได้รับ....

  เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
  *เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด*
  • การกินอยู่
  • การเข้าห้องน้ำ
  • การแต่งตัว
  • กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
 การสร้างความอิสระ

  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน  เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
  ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
  หัดให้เด็กทำเอง
*ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น(ใจเเข็ง)* ให้เด็กได้ลองทำด้วยตัวเองก่อน
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างให้เด็กมากเกินไป 
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ ห้ามพูดคำนี้เด็ดขาด! ''หนูทำช้า'' ''หนูยังทำไม่ได้''
  จะช่วยเมื่อไหร่?
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร ,หงุดหงิด ,เบื่อ ,ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งที่เด็กจะขอความช่วยเลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  ลำดับขั้นในการช่วยเหลือ
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน
  การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ท้ิงกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชัดโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม
  การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
  สรุป...
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • *ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล*
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ

    กิจกรรม  ศิลปะบำบัด

    วัสดุ/อุปกรณ์

  • กระดาษร้อยปอนด์
  • สีเทียน
  • กรรไกร/คัตเตอร์




เลือกสีที่ชอบมา 1 สี จากนั้นจุดลงกลางกระดาษ




จากจุดๆเดียวเล็กๆก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 


จะทำวงกลมเล็กหรือวงกลมใหญ่ตามความชอบ




จากนั้นก็นำวงกลมของแต่ละคนนำมาติดลงบนต้นไม้ทีละคนจนครบทุกคน



ผลงาน....ต้นไม้ของเราสวยงามมากค่ะ ^__^



 ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมนี้...

          กิจกรรมศิลปะบำบัดช่วยฝึกสมาธิ  ฝึกการใช้กล้ามเนื้อเล็ก  มีจินตนาการและความคิดสร้างสร้าง และในเรื่องของมิติสัมพันธ์ ใช้กับเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี

 การนำไปใช้...

  • ในการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นทักษะการช่วยเหลือตนเอง ครูต้องคำนึงเสมอว่าเด็กแต่คนมีพัฒนาการแตกต่างกัน ครูไม่ควรช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น ต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง สิ่งไหนที่เด็กพอทำได้ก็ให้เด็กทำเอง ถ้าทำไม่ได้ก็ให้เด็กลองผิดลองถูกด้วยตนเองก่อนถ้าไม่ได้จริงๆครูจึงเข้าไปช่วยเหลือ
  • การสอนเด็กให้ช่วยเหลือตนเอง ครูควรอธิบายเป็นลำดับขั้นแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆและให้ชัดเจนมากที่สุด
 ประเมินผล...

ประเมินตนเอง: วันนี้อากาศร้อนมากเป็นอุปสรรค์ในการเรียนมากเลยค่ะ ไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ก็พยายามฟังที่อาจารย์สอน จดประเด็นสำคัญๆ ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ 

ประเมินเพื่อน: วันนี้เรียนรวม 2 กลุ่ม มองหน้าเพื่อนแต่ละคนไม่ค่อยดีเลยเพื่อนส่วนใหญ่บ่นว่าร้อนเรียนไปพัดไป ไม่ค่อยมีสมาธิ มีคุยบ้างนิดหน่อย แต่ก็ตั้งใจเรียน ตังใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ 

ประเมินอาจารย์: นำเข้าสู่บทเรียนได้ดีมาก ตั้งใจสอนและอธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น อธิบายเนื้อหากระชับเข้าใจง่าย ถึงอากาศจะร้อนมากแต่อาจารย์ก็สอนอย่างเต็มที่